คำถาม กรมบัญชีกลาง (กรณีเสวนา การบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติตามพรบ.จัดซื้อจัดจ้าง 2560)
======================
1. ยาที่จะจัดซื้อ กรณียาใหม่เพิ่งเข้ามาในโรงพยาบาล ระหว่างปี ไม่ได้ทำแผนจัดซื้อไว้ล่วงหน้า
จะสามารถดำเนินการจัดซื้อแบบยาปกติทั่วไป ได้หรือไม่
============================
2. ปัจจุบันจำนวน item ยาต่อ รพ.คือ 500 – 850 รายการ ท่านอยากให้มีรายการต่อ รพ.ของท่าน
เป็นเท่าไรเพื่อความเหมาะสมในการบริหาร จัดการ แบบ Smart
== Service Plan ==
*****************************
3. ยานวัตกรรม ต้องซื้อครบ 30% หรือไม่
--------------------------------
4. กรณียาที่เป็น monopoly มูลค่าการใช้ต่อปีหลาย 10 ล้านยาท ต่อรายการ ควรจัดซื้อ
ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ไม่จำกัดวงเงิน
(ซื้อเกิน 500,000 บาท) ได้หรือไม่? *
----------------------------------------------
5. การที่ โรงพยาบาลได้ผู้ชนะ e-bidding หรือคัดเลือก แล้วมีส่วนแถมเพิ่มเติม จะต้องลงส่วนแถมลงไปในสัญญาหรือไม่? *
============================================
6. รายการที่ทำ e-bidding หากพบว่า มีผู้มายื่นแข่งขันรายเดียว และ รพ.ได้ประกาศผู้ชนะแล้ว ไม่เคยพบว่ามีการอุธรณ์
รพ.จำเป็นต้อง ทอดรอระยะเวลาเหมือน มีผู้มายื่นแข่งขันหลายเจ้า หรือไม่ หรือทำสัญญาต่อไปได้เลย
===========================================
7. กรณีเคยซื้อยา A ด้วยวิธีคัดเลือก หรือ e-bidding และในระหว่างรอขั้นตอนการดำเนินการ มีความจำเป็นต้องใช้ยา จึงดำเนินการ
จัดซื้อด้วยวิธีเฉพาะเจาะจงไปพรางก่่อน ได้หรือไม่?
----------------------------------------------
8. ถ้า รพ. ทำวิธีคัดเลือก หรือ e-bidding แล้ว ได้ผู้ชนะเป็น Generic (แพทย์มาขอให้จัดหายา Original) ในคราวเดียวกัน
รพ. จะซื้อ Originator ได้ด้วย หรือไม่ อย่างไร
==================================================
9. ถ้าปีงบประมาณที่ผ่านมา โรงพยาบาลซื้อยาด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคากลาง ในปีใหม่นี้ โรงพยาบาลสามารถตั้งเรื่องใหม่
โดยใช้ราคากลางเป็นตัวตั้งได้หรือไม่ เพราะราคายาสูงกว่าเดิม?
*******************************************
10 . เมื่อซื้อยาในบัญชีนวัตกรรมไปแล้ว พบว่าไม่มีแพทย์ท่านใดสั่งใช้หรือพบปัญหาจากการใช้ยา (ด้านคุณภาพ, ผลการรักษา,
อาการไม่พึงประสงค์) โรงพยาบาลจำเป็นต้องซื้อยาตัวนี้ ในปีถัดไปอีกหรือไม่? *
*****************************************************
11. การบริหารสัญญา เมื่อพบว่า บริษัทยามีการปรับลดราคายา ต้องให้มีการทำสัญญาใหม่(ปรับลดราคาด้วยหรือไม่)
===============================================
12. เทียบเคียงกับสถานการณ์ฉุกเฉิน เกิดโรคระบาดโดวิด 19 กรมบัญชีกลางออกหนังสือแนวปฏิบัติ (ว.115)
โรงพยาบาล จำเป็นต้องจัดหา ยารายการใหม่ๆ จะสามารถดำเนินการจัดซื้อแบบยาปกติทั่วไป ได้หรือไม่
.........................................................
คำถามทั่วไป การปฏืบัติตาม พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง 2560
====================================
1 การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี e-bidding หากปรากฏว่ามีผู้ยื่นเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอ
หลายรายแต่ถูกต้องตรงตามเงื่อนไขที่กําหนดเพียงรายเดียวและราคาที่เสนอไม่สูงกว่า
งบประมาณ หากคณะกรรมการพิจารณาผลฯ พิจารณาแล้วเห็น ว่ามีเหตุผลสมควรที่จ ะ
ดําเนินการต่อไปโดยไม่ต้องยกเลิกการประกวด ราคาฯ คณะกรรมการพิจารณาผลฯ ต้องเรียกผู้
เสนอราคารายดังกล่าวมาต่อรองราคาก่อนทุกครั้ง หรือไม่
ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการพัสดุฯ พ.ศ. 2560 ข้อ 56 วรรคหนึ่ง กําหนดให้กรณี
ดังกล่าวต้องมีการต่อรองราคา ไม่ว่าราคาที่ เสนอ สูงหรือต่ำกว่าวงเงินงบประมาณ (19 ก.พ. 2561)
=======================================
2. กรณีที่มีผู้ยื่นข้อเสนอและผ่านการพิจารณาเพียง รายเดียวและหน่วยงานของรัฐพิจารณาแล้วเห็น
ควรให้ผู้ยื่นข้อเสนอรายนั้น เข้าเป็นคู่สัญญา หน่วยงานของรัฐต้องรอให้ล่วงพ้นระยะเวลา อุทธรณ์และไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ตามมาตรา 117
ซึ่งกําหนดไว้ในมาตรา 66 วรรคสองก่อนหรือไม่ จึงจะเรียกมาลงนามในสัญญา
กรณีดังกล่าว ได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตาม ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการพัสดุฯ พ.ศ.
2560 ข้อ 161 วรรคสอง โดยให้หน่วยงานของ รัฐสามารถลงนามในสัญญาได้โดยไม่ต้องรอให้ล่วง
พ้นระยะเวลาอุทธรณ์ แจ้งเวียนตามหนังสือ คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาฯ ด่วนที่สุด ที่ กค 0405.2/ว 453 ลงวันที่
28 พฤศจิกายน 2560
=======================================
3. การจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี e-bidding หน่วยงานสามารถกําหนดให้ผู้เสนอราคานําพัสดุที่เสนอมา
แสดงเพื่อทดลองหรือทดสอบได้หรือไม่ และต้องกําหนดให้นํามาก่อนหรือหลังวันเสนอราคากี่วัน
และสามารถกําหนดให้นํามาเสนอได้มากกว่า ๑ วันได้หรือไม่
ตามระเบียบฯ ข้อ ๔๔ การซื้อหรือจ้างที่มีความ
จําเป็นโดยสภาพของการซื้อหรือจ้างจะกําหนด เงื่อนไขไว้ในเอกสารซื้อหรือจ้างให้ผู้ยื่นข้อเสนอนํา
ตัวอย่างพัสดุที่เสนอมาแสดงเพื่อทดลองหรือทดสอบ หรือนําเสนองานได้ตามวันและเวลา ณ สถานที่ที่
หน่วยงานของรัฐกําหนด โดยให้กําหนดเป็นวันใดวันหนึ่งภายใน ๕ วันทําการนับถัดจากวันเสนอราคา
เว้นแต่ไม่อาจดําเนินการวันใดวันหนึ่งได้ให้กําหนด มากกว่า ๑ วันทําการได้แต่จํานวนวันดังกล่าวต้อง
ไม่เกิน ๕ วันทําการนับถัดจากวันเสนอราคา
==============================================
4. กรณีประกาศจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธี e-bidding จํานวน ๑ โครงการ แล้วเลือกพิจารณาราคาต่อ
รายการ จํานวน ๒ รายการ ปรากฏว่ารายการที่๑ มีผู้มายื่นข้อเสนอรายเดียว และผ่านการ
พิจารณา ส่วนรายการที่ ๒ มีผู้มายื่นเสนอราคา๓ ราย ผู้ชนะคือ คนที่ผ่านการพิจารณาและ
เสนอราคาต่ําสุด กรณีนี้ต้องรอให้พ้นระยะเวลาการอุทธรณ์๗ วันทําการนับจากวันประกาศผู้
ชนะราคาพร้อมกันหรือไม่ จึงจะเรียกผู้ชนะทั้ง ๒รายการมาทําสัญญาได้
ไม่ต้องรอทําสัญญาพร้อมกัน สามารถเรียกผู้ชนะ รายการที่๑ มาลงนามในสัญญาได้เลย
เนื่องจากเป็นผู้ที่เข้ามายื่นข้อเสนอรายเดียวและผ่านการพิจารณา จึงไม่ต้องรออุทธรณ์ส่วนรายการที่ ๒
ต้องรอให้ล่วงพ้นระยะเวลาอุทธรณ์และไม่มีผู้ใดอุทธรณ์หรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์เมื่อหน่วยงาน
ของรัฐได้รับแจ้งจากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน ให้ดําเนินการจัดซื้อจัด
จ้างต่อไปได้จึงจะเรียกมาลงนามในสัญญาได้
========================================
5 หากผู้รับจ้างที่ชนะการเสนอราคา ซึ่งกําลังจะเข้ามาลงนามเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ หรือ
ลงนามไปแล้ว เพิ่งถูกประกาศแจ้งรายชื่อเป็นผู้ทิ้งงาน โดยกระทรวงการคลัง หน่วยงานของรัฐ
ต้องดําเนินการอย่างไร
กรณีดังกล่าว ตามระเบียบฯ ข้อ ๑๙๒ วรรคสองให้หน่วยงานของรัฐตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออก
จากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกหรือยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระทําก่อนการสั่งการของปลัดกระทรวงการคลัง
เว้นแต่ในกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐพิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยงานของรัฐอย่างยิ่ง หัวหน้า
หน่วยงานของรัฐจะไม่ตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือก หรือจะไม่ยกเลิกการจัดซื้อจัดจ้าง
หรือจะไม่ยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระทําก่อนการสั่งการของปลัดกระทรวงการคลังก็ได้
=========================
6. กรณีหน่วยงานประกาศผลผู้ชนะแล้ว มีผู้อุทธรณ์ แล้วหน่วยงานพิจารณาแล้ว เห็นด้วยกับผู้ที่
อุทธรณ์จึงยกเลิกประกาศผลผู้ชนะ และประกาศให้ผู้ที่อุทธรณ์เป็นผู้ชนะการเสนอราคา
ในกรณีนี้ต้องรอให้ล่วงพ้นระยะเวลาอุทธรณ์อีก๗ วันทําการหรือไม่
ไม่ต้องรออุทธรณ์สามารถทำสัญญาได้
=================================
7. กรณีสัญญาสิ้นสุดตรงกับวันหยุดราชการ เช่น สัญญาจ้างหมดวันที่ 28 มกราคม 2561 ซึ่งตรง
กับวันอาทิตย์ผู้รับจ้างส่งมอบงาน วันจันทร์ที่29 มกราคม 2561 จะมีหลักในการคิดค่าปรับ
และการสงวนสิทธิค่าปรับจะทําได้เมื่อใด มี ขั้นตอนวิธีปฏิบัติย่างไร
** กรณีสัญญาครบกําหนดในวันหยุดราชการ ให้ นับวันทําการถัดไปเป็นวันครบกําหนดสัญญา ตาม
นัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา193/8
** การคิดค่าปรับระเบียบฯ ข้อ 181 กรณีที่สัญญาหรือข้อตกลงได้ครบกําหนดส่งมอบแล้ว และมี
ค่าปรับเกิดขึ้น ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา
ภายใน ๗ วันทําการ นับถัดจากวันครบกําหนดส่งมอบ และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุให้หน่วยงาน
ของรัฐบอกสงวนสิทธิ์การเรียกค่าปรับในขณะที่รับ
==============================
8 ใครคือผู้ลงนามใบสั่งซื้อสั่งจ้าง และลงนามในประกาศผู้ชนะการเสนอราคา กรณีการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ตามมาตรา ๕๖ (๒) (ข)
การลงนามในใบสั่งซื้อสั่งจ้าง สําหรับการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ตามมาตรา ๕๖ (๒) (ข)
ตามระเบียบฯ ข้อ ๗๙ วรรคแรกเป็นอํานาจของหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุซึ่งเป็นอํานาจตามระเบียบฯ ไม่ได้เกิดจากการมอบอํานาจ
โดยหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ แต่หากหัวหน้าหน่วยงานของรัฐจะเป็นผู้ลงนามเองก็ได้ส่วนการลงนามในประกาศผู้ชนะการ
เสนอราคาทุกวิธีการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นอํานาจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ
===================================
9.ความเสี่ยง กรณีที่มียา อยู่ใน หน่วยเบิก มากเกินความจำเป็น
วิเคราะห์ปัญหำอุปสรรค/ข้อจำกัด มี มาตรการกำกับควบคุมดูแล ให้มียา ให้เพียงพอ มีโปรแกรม
จัดการการบริหาร Substock ให้แก่ทุกหน่วยงาน
====================================
10.ความเสี่ยง การขอซื้อขอจ้างรายการที่นอกเหนือจากแผนที่ตั้งไว้
วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค/ข้อจำกัด มีมาตรการกำกับควบคุมดูแลให้มีการขอซื้อที่เป็นไปตามแผน
===========================
คำถามเกี่ยวกับการจัดซื้อร่วม ระดับ ประเทศ/ระดับเขต/ระดับจังหวัด
====================================
1. ประเด็นปัญหาที่ทำให้ทางกองทุนหลักประกันสุขภาพแงชาติต้องให้ กระทรวงสาธารณสุข ดำเนินการจัดซื้อยาเอง เนื่องจาก
ความเสี่ยง เรื่อง กองทุน(ผู้ซื้อ) ไม่ควรดำเนินการซื้อยา-เวชภัณฑ์ จึงควรให้โรงพยาบาล (ผู้ให้บริการ) ดำเนินการเอง
ดังนั้นการดำเนินการจัดซื้อยา จ.๒ กระทรวงสาธารณสุข จึงดำเนินการเอง โดยมอบหมายให้ รพ.ราชวิถี ดำเนิน
การจัดซื้อร่วม ระดับประเทศ รพ.ราชวิถี ใช้วิธีการจัดซื้อ ตาม พรบ.จัดซื้อ ปี 60 ด้วยวิธีใด .....
และการบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจัดการได้อยางไร.....
ใช้วิธีเฉพาะเจาะจง (ซ)
===============================
2. การดำเนินการตามข้อ 1 หาก รพ.ในราชการส่วนภูมิภาค จะนำไปปฏิบัติ เช่น การจัดซื้อร่วมระบบจังหวัด (ทำ DrugWareHouse)
จะสามารถดำเนินการ คล้าย หรือ อ้างอิงจาก รพ.ราชวิถ๊ได้หรือไม่ จะมีความเสี่ยง ที่ต้อง เฝ้าระวังมากน้อย อย่างไร....
---------------------------
3. ระยะเวลาในการดำเนินการจัดซื้อตามข้อ 1 ใข้เวลาที่่ผ่านมา มากน้อยแค่ไหน อย่างไร (พบว่ายา จ2 มักจะขาดเป็นช่างๆ ๆ )
จะลดความเสี่ยง อย่างไร
============================
4. ระเบียบที่ควรแก้ไข เพื่อให้ การดำเนินการจัดซื้อ ร่วม ระดับจังหวัด เป็นไปด้วยความ Smart PO ....ควรแก้ไขเรื่อง อะไรบ้าง .....
(อนาคตอาจกระจายให้หน่วยงานในภูมิภาคดำเนินการเอง)
*****************************
ลำดับขั้นตอนการดำเนินรายการ
-----------------------
1. แนะนำวิทยากรเข้าร่วมเสวนา จำนวน 4 ท่าน ให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้รู้จัก ทั้งทาง On Site / On line
2. วิทยากรท่านแรก อ.นพ.เอนก ยมจินดา ( บรรยาย ความเป็นมาของการจัดซื้อจัดจ้างในช่วง ระยะเวลาที่ผ่านมา
ตั้งแต่ ระเบียบพัสดุ สำนักนายก 2535 ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น จนถึง พรบ.จัดซื้อจัดจ้าง 2560 )
3.วิทยากรท่านที่ สอง อ.อัมพวรรณ พุกดำ (กรมบัญชีกลาง) [บรรยาย สั้นๆ เนื้อหา เน้น หน้าที่กรมบัญชีกลาง และ ตอบคำถาม คำตอบ
ที่ได้ Survey ล่วงหน้าแล้ว]
เน้นเรื่อง **** สามารถนำไปใช้ต่อได้เลย ด้วยความมั่นใจ ***
4. เป็นการเสวนา คำถาม คำตอบ วิทยากร รวมทั้ง 4 ท่าน
4.1 อ.เอนก ยมจินดา (ข้าราชการบำนาญ)
4.2 อ.อัมพวรรณ พุกดำ (กรมบัญชีกลาง)
4.3 อ.สุรีรัตน์ ตั้งสง่าศักดิ์ศรี (รพ.หาดใหญ่)
- เสวนาเรื่อง ความเสี่ยง ที่เกิดขึ้น ขณะปฏิบัติ ตาม พรบ.การจัดซื้อ จัดจ้าง 2560
- คำถามจาก เวที ( By พี่ สมชัย)
4.4 อ.ชยรัชต์ (รพ.ราชวิถี)
- เสวนาเรื่อง การบริหารความเสี่ยง การจัดซื้อร่วม เมื่อ ปฏิบัติ ตาม พรบ.การจัดซื้อ จัดจ้าง 2560 ไม่ได้ทั้งหมด
- การแก้ไขปัญหาเพื่อลดความเสี่ยง
-------------------------------